กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้พัฒนาระบบ โปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ ซึ่งประชาชนสามารถขอรับเอกสารการทะเบียนเป็นภาษา อังกฤษได้แล้วที่เขตพื้นที่/อําเภอ
เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง
ประชาชนสามารถขอเอกสาร การทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้แล้ว 30 ประเภท ดังนี้
1. ทะเบียนคนเกิด/สูติบัตร (หร.1)
2. ทะเบียนคนตาย/มรณบัตร (ทร.4)
3. ทะเบียนบ้าน (ทร.14)
4. หนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1)
5. ทะเบียนสมรส (คร.3)
6. ทะเบียนหย่า (คร.7)
7. รายการบัตรประจําตัวประชาชน
8. ทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
9. ทะเบียนการเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)
10. ทะเบียนการตั้งชื่อสกุล (ช.2)
11. ทะเบียนการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4)
12. ทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ซ.5)
13. ทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)
14. ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14)
15. ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17)
16. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6)
17. ทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6/1)
18. หนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)
19. ทะเบียนรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7/1)
20. หนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)
21. ทะเบียนรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8/1)
22. หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)
23. ทะเบียนรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9/1)
24. แบบรับรองข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนของสํานักทะเบียนกลาง
25. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
26. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
27. แบบรับรองข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่คัดรับรอง รายการจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
28. หนังสือรับรองการใช้อํานาจปกครองบุตร
29. หนังสือรับรองการใช้ค่านําหน้านามหญิง
30. หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส
ประโยชน์ของเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและดําเนินธุรกรรมข้ามประเทศทั้ง ภาคประชาชนและภาคธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้ปัจจุบันมี ประชาชนมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทคําแปลจาก ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนําไปใช้ต่างประเทศมากขึ้น แบบฟอร์มเอกสาร ภาษาอังกฤษจะเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน ดังนี้
1.การลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร
2. ลดขั้นตอนและกระบวนการรับรองเอกสาร (ไม่ต้องรับรองการแปล)
3. เอกสารที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการแปลที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและมี มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถนําไป ใช้ต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับ
การรับรองเอกสาร
ก่อนที่จะนําเอกสารการทะเบียนฉบับภาษาอังกฤษไปใช้ต่อไป ประชาชนต้องนําเอกสารดังกล่าวมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลในกรุงเทพฯ และ สาขาต่างจังหวัด ดังนี้
1. กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ถ. แจ้งวัฒนะ
2. สํานักงานสัญชาติและนิติกรณ์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) คลองเตย
3. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.สงขลา
4. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ. อุบลราชธานี
5. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.เชียงใหม่
6. สานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.ภูเก็ต
7. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน (MBK Center)
โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการนําเอกสารไปแปล เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเสี่ยงต่อการแปลผิดพลาดอีกต่อไป
ที่มา: กรมการปกครอง